Page 186 - Policy-Communication-Report-Volume-67
P. 186

ฟ้าทะลายโจร และกระชายด าและกลุ่มที่ 2 คือ สมุนไพรที่มีศักยภาพและต้องการความต่อเนื่องในการพัฒนา 12 รายการได้แก่
               กระชาย มะขามป้อม ไพล กวาวเครือขาว ขิง กระท่อม ว่านหางจระเข้ บัวบก มะระขี้นก กัญชง กัญชา และเพชรสังฆาต ในการ
               ขับเคลื่อนพัฒนาเมืองสมุนไพร สร้างความเข้มแข็งและสร้างมูลค่าเพิ่มจากสมุนไพรให้แก่ชุมชน หลายจังหวัดได้มีการพัฒนาต่อยอด
               พืช/สมุนไพร ให้เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของจังหวัด เป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้แก่ชุมชน

                   “นโยบายมุ่งเน้นกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกประจ าปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เรื่องการสร้าง
                   เศรษฐกิจสุขภาพด้วยภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก และสมุนไพร โดยสร้างต้นแบบพื้นที่อายุยืน
                   (Healthy Cities Model) ผ่าน Wellness Communities ,ส่งเสริมผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย ,อาหารไทยเพื่อสุขภาพ

                   และนวดไทย  อีกทั้ง จะต้องสร้างความเชื่อมั่นที่ดีให้แก่ประชาชน ,ร่วมมือกันทุกภาคส่วนเพื่อวิจัยและต่อยอดการแพทย์

                   แผนไทยการแพทย์ทางเลือก และสมุนไพร สู่การใช้ประโยชน์ในวงกว้างและสร้างการรับรู้ในคุณประโยชน์อย่างต่อเนื่อง”

                   สันติกล่าว


                                                            ชงสปสช.เพิ่มเงินหนุนค่าบริการ On top
                                                            แพทย์แผนไทย

                                                            ด้าน นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการแพทย์
                                                            แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า ในปี 2566 ที่ผ่านมา
                                                            ส านักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ได้สนับสนุนค่าบริการ
                                                            เพิ่มเติม (On top) คือ 19.16 ต่อหัวประชากร ซึ่งในปี 2567 อยู่
                                                            ระหว่างเสนอร่างขอให้ สปสช.เพิ่มเงินสนับสนุนค่าบริการเพิ่มเติม
                                                            (On top) เป็น 30.33  ต่อหัวประชากร ในส่วนการขับเคลื่อนนโยบาย
                                                            สมุนไพรไทย ได้เดินหน้าขับเคลื่อน “สมุนไพร Herbal Champions
               15 รายการ” ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570 เพื่อสนับสนุนการพัฒนาสมุนไพรตลอดห่วงโซ่
               คุณค่า มีการวางเป้าหมายออกสู่ตลาดโลก เพื่อสร้างเศรษฐกิจรายได้ของประชาชน และ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศชาติ
               ต่อไป

               ปี 67 ดันระบบสุขภาพปฐมภูมิรักษาด้วยสมุนไพรแพทย์ทางเลือกไม่น้อยกว่า 40%

               ทั้งนี้ นพ.ทวีศิลป์ ยังกล่าวถึงนโยบายกรม ประจ าปี  2567 จุดเน้นการด าเนินงานที่ส าคัญ ได้แก่ 1. ยกระดับการแพทย์แผนไทย
               และการแพทย์ทางเลือกสู่การหนุนเสริมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสุขภาพ  โดยเฉพาะนวดไทย ซึ่งในต่างประเทศมีความต้องการ
               แรงงานกลุ่มนี้ปีละเป็นหมื่นคน จึงมีเป้าหมายจ านวนผู้ส าเร็จการอบรมนวดไทย 5,000คนภายใน 6 เดือนเป็นการสร้างงาน
               สร้างอาชีพ, อาหารไทย ,ผลิตภัณฑ์สมุนไพร  การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพทั่วประเทศมี 93 แห่งใน 28 จังหวัด และWellness
               communities ขับเคลื่อนศูนย์เวลเนสอัตลักษณ์ไทย(TWD) ปัจจุบันผ่านการรับรองแล้ว 36 แห่ง  แบบที่พักนักท่องเที่ยว
               13 แห่ง  ภัตตาคาร 6 แห่ง นวดเพื่อสุขภาพ 4 แห่ง สปาเพื่อสุขภาพ 10 แห่ง และสถานพยาบาล 3 แห่ง โดยจะมีการพัฒนา
               ศูนย์ Wellness ที่ตอนนี้มีอยู่ 459 แห่งให้เป็น TWD มากขึ้น
               2. Service plan ผลักดันให้การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกมีบทบาทส าคัญ สร้างความเชื่อมั่นการจัดบริการดูแล
               สุขภาพ  ในระดับปฐมภูมิมีป้าหมายประชาชนที่มารับบริการในระดับปฐมภูมิได้รับการรักษาด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์
               ทางเลือกไม่น้อยกว่า 40 % ส่วนการดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาต เป้าจ านวนผู้ป่วยที่มีการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์
               อัมพาตระยะกลางที่ได้รับการดูแลด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ไม่น้อยกว่า 10 %  รวมถึง พัฒนามาตรฐานการ
               ผลิตยาจากสมุนไพรในรพ.ของรัฐให้ได้มาตรฐาน WHO GMP ปัจจุบันผ่านแล้ว 46 แห่งจะมีการพัฒนาให้รพ.ทั้ง 46 แห่ง
               มีการตกลงร่วมกันภายในเขตสุขภาพให้เกิดความยั่งยืน โดยใช้หลัก Economy of Scale ลดต้นทุนการผลิต ลดรายการยาที่ผลิต
               ในแต่ละรพ. หากราคายาที่ผลิตแล้วแพงกว่าให้จัดหายาผ่านภาคเอกชน และยาก าพร้าให้กรมเป็นหลักในการวางแผนการผลิต
               ผผ









                                                                                                       181
   181   182   183   184   185   186   187   188   189   190   191