Page 60 - Acrobat J Trad-21-3-2566
P. 60

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก  Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
                      ปีที่ 21  ฉบับที่ 3  กันยายน-ธันวาคม  2566   Vol. 21  No. 3  September-December  2023




                                                                                 นิพนธ์ต้นฉบับ



            การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของการรักษาด้วยยาพอกเข่าสูตรลำาปาง

            โมเดลกับการรักษาแบบปกติต่ออาการเเสดงของโรคลมจับโปงเเห้งเข่า



            วรรณา ดำาเนินสวัสดิ์ , กนกวรรณ บัณฑุชัย , สุวนันท์ นามบุญ
                             *
                                                                *
                                               †,‡
             กลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สำานักงานสาธารณสุขจังหวัดลำาปาง ตำาบลหัวเวียง อำาเภอเมืองลำาปาง จังหวัดลำาปาง 52100
            *
             คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเชียงใหม่ ตำาบลศรีภูมิ อำาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200
            †
            ‡ ผู้รับผิดชอบบทความ:  ganokwun.bun@gmail.com




                                                 บทคัดย่อ
                    บทน�ำและวัตถุประสงค์:  วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือ เปรียบเทียบผลการรักษาต่ออาการแสดงโรคลมจับ
               โปงแห้งเข่าในผู้ป่วยที่รักษาด้วยการนวด ประคบ และเสริมการพอกเข่าล�าปางโมเดล กับการรักษาแบบปกติ
                    วิธีกำรศึกษำ:  การศึกษาแบบกึ่งทดลอง วัดผลก่อน-หลัง มีกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคลมจับโปง
               แห้งเข่าที่มารับการรักษาที่หน่วยบริการแพทย์แผนไทย 13 แห่ง ในจังหวัดล�าปาง เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่าง
               ง่ายและให้กลุ่มตัวอย่างเลือกรับการรักษาโดยสมัครใจ ได้กลุ่มทดลอง 277 คน กลุ่มควบคุม 261 คน ทั้งสองกลุ่มได้รับ
               การรักษาด้วยการนวดและประคบสมุนไพร กลุ่มทดลองได้เสริมการรักษาด้วยการพอกเข่าสูตรล�าปางโมเดล โปรแกรม
               การรักษา 5 ครั้ง ประเมินอาการแสดงของโรคด้วยการหาจุดกดเจ็บ วัดความโก่งข้อเข่า คลอนลูกสะบ้า เขยื้อนข้อเข่า
               ตั้งขาชันเข่าชิดก้น และดูสภาพข้อเข่า วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงก่อน-หลังรักษา ด้วยสถิติ McNemar และเปรียบเทียบ
               อาการแสดงที่ดีขึ้นระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมด้วยสถิติ Fisher’s exact ที่ระดับนัยส�าคัญ 0.05
                    ผลกำรศึกษำ:  ผลการศึกษาพบว่า ผู้เข้าร่วมวิจัยในกลุ่มทดลองอายุ 65.23 ± 7.71 ปี และกลุ่มควบคุมอายุ 64.91
               ± 7.42 ปี อาการแสดงก่อนรักษาของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน หลังรักษาอาการแสดงดีขึ้นอย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติ
               (p < 0.05) ทั้งสองกลุ่ม ยกเว้นสภาพข้อเข่าผิดรูป เมื่อเปรียบเทียบผลการรักษาระหว่างกลุ่มพบความแตกต่างกันอย่าง
               มีนัยส�าคัญ กลุ่มที่เสริมการพอกเข่าลดจุดกดเจ็บสัญญาณ 3 เข่าได้ 2.46 เท่า (p < 0.001) ลดอาการเข่าโก่ง 2.38 เท่า
               (p = 0.001) และลดเสียงในข้อเข่า 2 เท่า (p = 0.019) มากกว่ากลุ่มควบคุม อาการแสดงอื่น ๆ ไม่มีความแตกต่าง
                    อภิปรำยผล:  การเสริมพอกเข่าสมุนไพรแสดงให้เห็นประสิทธิผลการบรรเทาอาการปวดเข่า เข่าโก่ง และเสียง
               ในข้อเข่าของผู้เข้าร่วมวิจัย ซึ่งเป็นผลมาจากฤทธิ์ของยาสมุนไพร ที่มีฤทธิ์ลดการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ และลดการ
               ท�าลายของผิวข้อกระดูกอ่อน ถึงแม้ผลประเมินอาการแสดงในการศึกษานี้เป็นข้อมูลแบบทวิภาคและไม่สามารถบอก
               รายละเอียดของระดับอาการได้ แต่จุดเด่นของการศึกษาคือการเก็บข้อมูลจากสภาพการรักษาจริง และมีกลุ่มตัวอย่าง
               ขนาดใหญ่ ข้อมูลที่ได้จึงสามารถน�าไปใช้สนับสนุนเชิงนโยบายในการส่งเสริมการพอกเข่าล�าปางโมเดล
                    ข้อสรุปและข้อเสนอแนะ:  การเสริมการรักษาด้วยการพอกเข่าล�าปางโมเดล จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการเพิ่ม
               ประสิทธิผลในการรักษา โดยช่วยลดอาการเจ็บในข้อเข่า ความโก่ง และเสียงในข้อเข่าได้
                    คำ�สำ�คัญ:  สมุนไพรพอกเข่า, ล�าปางโมเดล, โรคลมจับโปงแห้งเข่า, โรคข้อเข่าเสื่อม


            Received date 21/04/23; Revised date 14/10/23; Accepted date 13/12/23


                                                    543
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65