Page 64 - วารสารการแพทย์แผนไทยฯ ปีที่ 18 ฉบับที่ 3
P. 64
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ 18 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2563 Vol. 18 No. 3 September-December 2020
นิพนธ์ต้นฉบับ
ประสิทธิผลของรูปแบบการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายด้วยการแพทย์
แผนไทยในโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทย
ปรีชา หนูทิม , รัชนี จันทร์เกษ , อมรรัตน์ ราชเดิม †
*,‡
*
* กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี 11000
† โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กรุงเทพมหานคร 10100
ผู้รับผิดชอบบทความ: preecha.nootim@gmail.com
‡
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวประเมินก่อนและหลังครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูป
แบบการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายด้วยการแพทย์แผนไทยเพื่อนำาไปใช้ในโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทย
โดยทำาการศึกษาในโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทย 5 แห่ง ได้แก่ 1) โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์
ผสมผสาน 2) โรงพยาบาลอู่ทอง 3) โรงพยาบาลวัฒนานคร 4) โรงพยาบาลขุนหาญและ 5) โรงพยาบาลสมเด็จ
พระยุพราชสว่างแดนดิน ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม–สิงหาคม 2561 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่
กำาหนด จำานวน 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ทีมสหวิชาชีพ จำานวน 55 คน กลุ่มที่ 2 ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายจำานวน 30 คนและ
กลุ่มที่ 3 ผู้ดูแลหลักจำานวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความเป็นไปได้ใน
การนำารูปแบบการดูแลรักษาไปใช้ของทีมสหวิชาชีพ แบบประเมินความทุกข์ทรมานจากอาการ แบบสอบถามความ
พึงพอใจของทีมสหวิชาชีพผู้ใช้รูปแบบ แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบคะแนนประเมินความทุกข์ทรมานจากอาการและผลลัพธ์
การดูแล ด้วยการวิเคราะห์สถิติรายคู่ paired t–test
ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิผลของรูปแบบการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายด้วยการแพทย์แผนไทยใน
โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทย ทีมสหวิชาชีพประเมินความเป็นไปได้ของการนำารูปแบบไปใช้ว่ามีความเป็นไปได้มาก
และรูปแบบการดูแลรักษาสามารถแก้ปัญหาและเกิดผลดีต่อผู้รับบริการมีระดับค่าเฉลี่ยความเป็นไปได้มากที่สุด รวม
ทั้งมีความพึงพอใจต่อระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายด้วยการแพทย์แผนไทย หลังการพัฒนาระบบสูง
กว่าก่อนพัฒนาระบบอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 รวมทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแลหลักมีความพึงพอใจในระดับมาก
ที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ x= 4.38, S.D. = 0.46 และ x= 4.22, S.D. = 0.38 ตามลำาดับ และทีมสหวิชาชีพมีความพึงพอใจ
ในระดับมากค่าเฉลี่ยเท่ากับ x = 4.12, S.D. = 0.18 ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถนำาไป
ใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายด้วยการแพทย์แผนไทยได้ อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาติดตามผลลัพธ์
ทางคลินิกเพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบที่พัฒนาขึ้นต่อไป
คำ�สำ�คัญ: การพัฒนารูปแบบ, รูปแบบการดูแลรักษา, ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
Received date 27/05/20; Revised date 12/11/20; Accepted date 27/11/20
496